คำชวนคิด ต่างในความหมายว่าแทน (วันที่ 16 ตุลาคม 2565)

ต่างในความหมายว่าแทน

          คำว่าต่างถ้าใช้เป็นคำวิเศษณ์จะมีความหมายว่าแทนพบได้ในวรรณคดีหลายเรื่องขอยกตัวอย่างการใช้คำว่าต่างในความหมายว่าแทนจากนิราศเมืองแกลงของสุนทรภู่ความว่า

        ถึงทุกข์ใดในโลกที่โศกเศร้า          ไม่เหมือนเราภุมรินถวิลหา

จะพลัดพรากจากกันไม่ทันลา                 ใช้แต่ตาต่างถ้อยสุนทรวอน…

          โอ้นึกนึกแล้วก็น่าน้ำตาตก           ด้วยแนบอกมิได้แนบแอบเขนย

ได้หมอนข้างต่างน้องประคองเกย         เมื่อไรเลยจะได้คืนมาชื่นใจ…

          เหมือนกลิ่นปรางนางปนสุคนธ์รื่น          คิดถึงคืนเคียงน้องประคองสม

ถอนสะอื้นยืนเด็ดลำดวนดม                   พี่นึกชมต่างนางไปกลางไพร…

        อีกหนึ่งตัวอย่างคือการใช้คำว่าต่างในตำรายาที่เจ้าของตำรับ
ต้องการจะบอกว่าหากหาตัวยาหลักไม่ได้ก็ให้เอาตัวยาอื่นแทนได้เพราะที่มีสรรพคุณเทียบเคียงกันขอยกตัวอย่างตำรายาของวัดใหม่เจริญธรรมตำบลบางจานเมืองเพชรบุรีที่บันทึกในสมุดไทยขาวเล่มหนึ่งความว่า

        ถ่าสมอไทใมมีเอาสะมอภิเภกใชตางถ่ามะฃามปอมไม่มีเอาสะมอ
ไชตางโกทกระดูกใมมีเอาโกทพุงปลาไชตางโกทการพราวใมมีเอาโกทจุลาไชตาง

        เพื่อให้สะดวกต่อการอ่านจึงขอปริวรรตเป็นอักษรปัจจุบันดังนี้

        ถ้าสมอไทยไม่มีเอาสมอพิเภกใช้ต่างถ้ามะขามป้อมไม่มีเอาสมอใช้ต่างโกฐกระดูกไม่มีเอาโกฐพุงปลาใช้ต่างโกฐก้านพร้าวไม่มีเอาโกฐจุฬาใช้ต่างถ้าโกฐจุฬาไม่มีเอาหญ้าตีนนกใช้ต่างโหราตีนหมาไม่มีเอา
โกฐน้ำเต้าใช้ต่างเทียนขาวไม่มีเอาเทียนตาตั๊กแตนใช้ต่างเทียน
ตาตั๊กแตนไม่มีเอาเทียนชะมดใช้ต่างผักชีละว้าไม่มีเอาผักชีไทยใช้ต่างลูกเอ็นไม่มีเอาลูกกระวานใช้ต่างลูกกระวานไม่มีเอาหญ้าพันงูใช้ต่างชะเอมเทศไม่มีเอาชะเอมไทยใช้ต่างชะเอมทั้งสองไม่มีเอามะกล่ำ
ใช้ต่างน้ำตาลกรวดไม่มีเอาน้ำอ้อยใช้ต่างน้ำอ้อยงบไม่มีเอาอ้อยลำใช้ต่างข่าหลวงไม่มีเขาข่าลิงใช้ต่างดีปลีไม่มีเอาพริกไทยใช้ต่างเจตมูลไม่มีเอาเจตพังคีใช้ต่างตองตึงไม่มีเอาโหราตีนหมาใช้ต่างลูกจันทน์
ลูกกระวานใช้ต่างลูกกระวานไม่มีเอานาทใช้ต่างพิมเสนไม่มีเอาการบูรใช้ต่างชะมดเชียงไม่มีเอาพิมเสนใช้ต่างรากมะตูมไม่มีเอารากตำลึงใช้ต่างเปลือกกันเกราไม่มีเอาเปลือกสะเดาใช้ต่าง

        อนึ่งการอ่านตำรายาทั้งคนอ่านและคนที่จะเอายาไปใช้ต้องมีความรู้เรื่องอักขรวิธีโบราณรู้จักชื่อตัวยารวมถึงรู้กรรมวิธีในปรุงเพราะหากอ่านผิดหรือตีความผิดแทนที่จะได้ยาแก้โรคก็อาจจะได้โรคซ้ำเข้าไปอีกได้เพราะคนโบราณเขียนหนังสือไม่มีอักขรวิธีที่แน่นอนบางครั้งเขียนตามเสียงเมื่อมาพิจารณารูปเขียนก็เห็นไปกันคนละคำตีความไปคนละอย่างเช่นที่เอามาล้อกันอยู่บ่อยๆว่ากินกไดทากไดน้ำพิงกไดถ้าไม่เข้าใจไปกินยาที่กะไดหรือเอายาไปทาที่กะไดหรือต้องยืนพิงกะไดกินก็คงจะไปคนละเรื่องกัน

        แท้จริงแล้วกินกไดทากไดคือกินก็ได้ทาก็ได้น้ำพิงกะไดคือน้ำผึ้งก็ได้ต่างหาก           

            ถ้อยคำในตำรายายังมีความรู้และภูมิปัญญาที่น่าสนใจอีกมาก
แล้วจะทยอยเขียนมาให้อ่านกันต่อครับ

error: ขอสงวนสิทธิ์ ในการคัดลอกบทความ !!