


อาจจะเป็นเพราะว่ายังไม่มีตำแหน่งผู้บริหารคุณภาพการศึกษาใน
สารบบตำแหน่งผู้บริหารการศึกษาของประเทศไทย โดยเฉพาะการศึกษาขั้นพื้นฐาน เมื่อเกิดปัญหาใด ๆ ของผู้คนในสังคมก็มักจะกล่าวโทษกันว่า การศึกษาของเราไม่มีคุณภาพ หรือคุณภาพไม่ดีพอ ส่งผลให้คนที่เป็นผลผลิตของการศึกษาด้อยคุณภาพในการดำรงชีวิตไปด้วย และส่งผลถึงความเจริญก้าวหน้าประเทศชาติบ้านเมืองในที่สุด
ก็ต้องยอมรับกันว่าการดำเนินกิจกรรมใด ๆ ไม่ว่าทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง ต้องมีกลวิธีในการบริหารจัดการที่ดีทั้งสิ้น กิจกรรมเหล่านั้นจึงเจริญก้าวหน้าประสบผลสำเร็จตามเป้าประสงค์ที่
ตั้งไว้ การจัดการศึกษาก็เช่นเดียวกัน นอกจากระบบบริหารจัดการที่กำหนดโดยระเบียบ กฎหมายแล้ว ตัวบุคคลที่เป็นผู้บริหารคือตัวแปรสำคัญ
ตำแหน่งผู้บริหารของการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีสองกลุ่มคือ “ผู้บริหารการศึกษา” ได้แก่ผู้บริหารที่ปฏิบัติหน้าที่นอกสถานศึกษา เช่น ศึกษาธิการ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอีกกลุ่มหนึ่งคือ “ผู้บริหารสถาน-ศึกษา” คือผู้อำนวยการโรงเรียน ซึ่งในปัจจุบันไม่มี ครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่
ไม่ว่าโรงเรียนเล็กใหญ่ มีนักเรียนสิบคนหรือพันคน ก็มีตำแหน่งเป็น “ผู้อำนวยการ
โรงเรียน” เหมือนกัน และมีสิทธิทำผลงานทางวิชาการให้มีวิทยฐานะเป็น “เชี่ยวชาญพิเศษ” หรือแต่เดิมคือระดับ ๑๐ ถ้าเทียบเคียงก็ระดับอธิบดี
คนสองกลุ่มนี้ก็ต้องทำหน้าที่บริหารคุณภาพการศึกษา ผ่านการบริหาร
คนก็คือ “ครูและบุคลากรทางการศึกษา” บริหารเงินคืองบประมาณและเงินอื่น ๆ บริหารวิชาการได้แก่หลักสูตร การวัดผล สื่อ บริหารระเบียบกฎเกณฑ์ ต่าง ๆ ถ้าเป็นผู้บริหารสถานศึกษาก็ต้องบริหารการอยู่ร่วมกับชุมชนด้วย
เมื่อหลายสิบปีก่อน ครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษาในถิ่นทุรกันดารเข้าสู่ตำแหน่งโดยการขอร้องให้ไปช่วยรับตำแหน่ง เพราะไม่มีใครไป ในยุคศึกษาธิการอำเภอ หรือหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอก็ขอร้อง
และแต่งตั้งให้ครูที่เสียสละไปรับตำแหน่ง แต่ปัจจุบันตำแหน่งผู้บริหาร
สถานศึกษามีการสอบคัดเลือกที่แข่งขันกันสูงมาก ส่วนเมื่อได้รับตำแหน่ง
ไปแล้วจะบริหารคุณภาพการศึกษาได้เพียงใดก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ
อย่าง
ส่วนกลุ่มผู้บริหารการศึกษาก็มาจากการสอบคัดเลือกเช่นเดียวกัน จากผู้บริหารระดับรอง เคยสนทนากับรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ที่ไปสอบคัดเลือก เป็นผู้อำนวยการสำนักงานเขตหลายครั้งแต่ไม่ได้เล่าให้ฟังว่า ถ้ากรรมการสอบสัมภาษณ์ใครแล้วถามเรื่องบ้านเมืองดินฟ้าอากาศ ครอบครัว แปลว่าไม่ได้แน่ แต่ถ้าถามเรื่องแผนการทำงาน หรือประสบการณ์ที่ผ่านมาก็มีโอกาสผ่านการคัดเลือก ฟังแล้วก็แปลก ๆ
เมื่อเริ่มมีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีการยุบสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดและอำเภอ ยุบสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดและอำเภอ
เลิกสามัญศึกษาจังหวัด มีผู้บริหารการศึกษาจำนวนมากเกินกรอบที่กำหนดให้มีในสำนักงานเขตพื้นที่ โดยเฉพาะระดับผู้ช่วย ที่ในเขตพื้นที่กำหนดให้เป็นระดับรอง ในเขตพื้นที่จึงมีรองในกรอบและรองนอกกรอบถึง ๑๑ คน
ผู้ว่าราชการจังหวัดสมัยนั้นพูดสัพยอกกับผู้อำนวยการสำนักงานเขตว่า
ผู้ว่ายังมีรองแค่ ๒ คน ผอ.มีรอง ๑๑ คนน่าอิจฉาจริง ๆ แต่ความเป็นจริง
ก็คือ ผอ.เขตต้องบริหารให้รองทำหน้าที่ได้ทุกคน
หน่วยศึกษานิเทศก์ปรับให้เป็นกลุ่มนิเทศ มีกลุ่มงาน ๔ กลุ่ม มี
รองกำกับ ๒ คน หัวหน้ากลุ่มนิเทศมีรองกำกับอยู่ ๒ คนรองคนหนึ่งกำกับ ๒ กลุ่มงาน หัวหน้ากลุ่มนิเทศกำกับ ๔ กลุ่มงาน ก็ต้องคอยระวังว่างานของกลุ่มงานไหนจะต้องเสนอผ่านรองท่านใด ก่อนที่จะเสนอ ผอ.เขต
ต่อไป ดังนั้นการทำงานในระยะแรกของเขตพื้นที่การศึกษาจึงสนุกสนานมากสำหรับคนถูกบริหาร
ดังที่กล่าวในตอนต้นไม่มีผู้บริหารคุณภาพการศึกษาสักคนจนปัจจุบัน เราจึงต้องช่วยกันพัฒนาคุณภาพการศึกษากันต่อไป