


พระวิหารหลวงวัดมหาธาตุ วรวิหาร เพชรบุรีเป็นที่ชุมนุมพระพุทธรูปหลวงพ่อสำคัญองค์ต่าง ๆ ผู้คนนิยมมาสักการะพระพุทธรูป
หลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ที่วัดมหาธาตุฯ ซึ่งอยู่ในรูปพระปฏิมาแบบ
พระศรีอาริยเมตไตรยถือตาลปัตรและยังมีรูปพระปฏิมาหลวงพ่อ
วัดเขาตะเครา หลวงพ่อบ้านแหลม ภายหลังมีหลวงพ่อโสธรด้วย
เคยสงสัยว่าเหตุใดจึงมีหลวงพ่อจากวัดอื่น ๆ มาตั้ง ต่อมาจึงได้ทราบจากคณะละครชาตรีว่า คนที่มาบนละครหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์นั้น มักจะบนหลวงพ่อวัดเขาตะเครา หลวงพ่อบ้านแหลม และหลวง
พ่อโสธรด้วย เมื่อแก้บนที่วัดมหาธาตุเสร็จก็ต้องหาละครไปวัดต่าง ๆ
ดังที่กล่าวด้วย ต่อมาจึงได้มีผู้คิดจำลองรูปหลวงพ่ออื่น ๆ ไว้ที่วัดมหาธาตุเมื่อมาแก้บนก็ถวายละครได้หลายหลวงพ่อในคราวเดียว



รูปพระปฏิมากรแทนองค์หลวงพ่อบ้านแหลมนั้นเป็นพระพุทธ-
รูปปางอุ้มบาตรตามแบบหลวงพ่อบ้านแหลม ส่วนรูปพระปฏิมากร
แทนองค์หลวงพ่อโสธรนั้นเป็นพระพุทธตามแบบหลวงพ่อโสธรอย่างชัดเจน
แต่พระพุทธรูปที่แทน
องค์หลวงพ่อวัดเขาตะเครานั้น
เป็นรูปพระปฏิมากรที่แตกต่าง
ไปจากรูปพระปฏิมากรหลวงพ่อ
วัดเขาตะเคราอยู่บ้าง ถึงแม้จะเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยเช่นเดียวกัน แต่หลวงพ่อวัดเขาตะเคราที่วัดเขาตะเคราขัดสมาธิราบ ส่วนหลวงพ่อวัดเขาตะเคราที่วัดมหาธาตุ ฯ
ขัดสมาธิเพชร และมีพระวรกายอวบอิ่ม พระเกตุมาลาเป็นดอกบัวตูม
พิจารณาจากพุทธศิลป์แล้วรูปพระปฏิมาหลวงพ่อ
วัดเขาตะเคราของวัดมหาธาตุฯ
มีลักษณะคล้ายพระพุทธสิหิงค์
แบบที่เรียกกันว่า พระสิงห์ขนมต้ม
อันเป็นความนิยมในสมัยอยุธยา
ตอนปลาย



เป็นไปได้ไหมว่า เมื่อครั้งที่
เริ่มคติจำลองรูปหลวงพ่อจากวัดอื่น ๆ ไว้ที่วัดมหาธาตุฯ ได้มีการหยิบยืมเอารูปพระปฏิมา
“พระสิหิงค์แบบขนมต้ม” ที่อยู่ในวัด มาตั้งเป็นรูปจำลองหลวงพ่อวัดเขาตะเครา โดยอนุโลมว่าเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยเช่นกันและมีขนาดใกล้เคียงกัน
ในเมืองเพชรบุรีมีพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร
พระวรกายอวบอิ่มแบบพระพุทธสิหิงค์ หรือที่เรียกกันว่าพระขนมต้ม อยู่หลายองค์ คติการบูชาพระพุทธสิหิงค์นี้เป็นคติเก่าสืบมาตั้งแต่สมัยอยุธยาด้วยว่าเมื่อครั้งสมเด็จพระนารายณ์เป็นเจ้าเสด็จขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่ ทรงได้พระพุทธสิหิงค์ลงมาเป็นพระพุทธรูปสำคัญของกรุงก็เกิดคตินิยมนับถือบูชาและสร้างองค์จำลองแพร่หลายกันไปทั้งในกรุงและหัวเมือง