ประถมหนึ่งเยอรมนี
ต้องขอแสดงความเสียใจกับการสูญเสียลูกหลานไทยที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในจังหวัดหนองบัวลำภูนับเป็นความสูญเสียที่สะเทือนใจ
คนทั่วโลกก็ขอให้กำลังใจคนที่อยู่ข้างหลังที่จะต้องใช้เวลานานสักเท่าใด
ในการเยียวยาจิตใจ
ไปเยอรมนีมาหลายวันไปเที่ยวเมืองเล็กๆชมธรรมชาติบ้านเมือง
ความเป็นอยู่ของผู้คนและแน่นอนก็ต้องอยากรู้ว่าเขาจัดการศึกษา
กันอย่างไรจึงหล่อหลอมคนเยอรมันให้มีบุคลิกภาพอย่างที่เราเห็นถ้าจะเรียก
ชื่อประเทศเขาให้เรียกเยอรมนีถ้าคนเรียกคนเยอรมันคนเยอรมันทั่วไปจะนิ่งๆแต่ดื่มเบียร์กันทั้งวันและกินอาหารเค็มมากแต่ที่แปลกไปจากที่เคยไปเมื่อสี่ปีที่แล้วคือในเมืองใหญ่จะมีผู้อพยพที่ดูเป็นแขกไม่ใช่ฝรั่งและใช้ชีวิตแบบคนไร้บ้านในอเมริกาคือกินนอนกันอยู่ข้างถนนสำหรับ
ผู้อพยพที่มีการศึกษาดีก็คงมีการงานทำคุณภาพชีวิตคงดีกว่านึกถึงคนไทย
ที่ไม่รักกันถ้าทะเลาะเบาะแว้งกันบ้านแตกสาแหรกขาดจนต้องอพยพหนีตายกันไปอาศัยแผ่นดินคนอื่นอยู่จะรู้ว่าไม่มีที่ไหนจะสุขสบายเหมือนบ้านเมืองของเราเอง
การศึกษาของเยอรมันก็คล้ายกับหลายประเทศคือมีระดับอนุบาลประถมมัธยมและอุดมศึกษาแต่ที่น่าสนใจคือจะเรียกว่าเป็นวัฒนธรรมของการเข้าเรียนชั้นประถมหนึ่งของเขาก็ได้คือการให้ความสำคัญกับการเข้าเรียน
วันแรก
การเตรียมการสิ่งแรกคือเด็กทุกคนจะมีกรวยกระดาษอันใหญ่ที่
พ่อแม่เตรียมให้สำหรับรับสิ่งของที่พ่อแม่ญาติพี่น้องให้ในวันแรกที่ไปโรงเรียนเช่นขนมนมเนยสิ่งของต่างๆเป็นของขวัญวันไปโรงเรียนวันแรกส่วนใหญ่แม่จะทำเองหรือไปซื้อชุด kit มาประกอบตกแต่งให้สวยงาม
ไปถึงโรงเรียนก็จะมีการปฐมนิเทศทั้งผู้ปกครองและเด็กก่อนถึงเวลาปฐมนิเทศญาติมิตรก็ให้สิ่งของลงในกรวยที่เตรียมกันมาถึงเวลาปฐมนิเทศเด็กจะแยกจากพ่อแม่รอเรียกชื่อเข้าชั้นเรียนสำหรับเด็กก็ต้อง
ช่วยเหลือตนเองคือฟังเรียกชื่อแล้วถือกรวยสะพายเป้เดินไปเข้าห้องเรียนหลังจากนั้นครูใหญ่ก็จะปฐมนิเทศพ่อแม่เรื่องการเรียนเช่นโรงเรียนจะไม่สอนวิชาการมากนักจะเน้นให้นักเรียนรับผิดชอบช่วยเหลือตนเองได้จากนั้น
ก็ให้ผู้ปกครองไปดูห้องเรียนให้เห็นว่ามีสภาพอย่างไรมีอุปกรณ์การสอน
อะไรบ้างใช้เวลาประมาณ๑ชั่วโมงก็ให้พาเด็กกลับบ้านไปฉลองการเข้าเรียน
กันที่บ้านสำหรับจำนวนนักเรียนแต่ละห้องจะมีนักเรียนประมาณ๒๕คนแต่จะเป็นการเรียนรวมกับนักเรียนชั้นประถม๒เหตุผลคือเขาเชื่อว่าเด็กมีความสามารถในการเรียนรู้ไม่เท่ากันคนที่เรียนรู้ได้เร็วจะได้เรียนเนื้อหา
ชั้นประถม๒ขณะที่เด็กประถม๒ก็ได้ฝึกเป็นผู้นำและช่วยเหลือรุ่นน้องจะไปแยกเรียนในชั้นประถม๓การศึกษาระดับประถมเป็นการศึกษาภาคบังคับเด็กที่อายุครบ๖ปีจะต้องเข้าเรียนในชั้นประถมในเยอรมนีเด็กจะต้องเข้าโรงเรียนในเขตที่ตัวเองพำนักอยู่ในช่วงปฐมนิเทศโรงเรียนจะแจ้งผู้ปกครองให้เด็กเดินมาโรงเรียนโรงเรียนประถมเรียกว่ากรุนชูเล (Grundschule) การศึกษาชั้นประถมจะมี๔ชั้นคือชั้นที่๑ถึงชั้นที่๔
แต่ในบางรัฐอาจจะรวมเอาชั้นที่๕และ๖อยู่ในระดับประถมด้วย
การให้ความสำคัญกับการเข้าเรียนชั้นประถมหนึ่งของคนเยอรมันเป็นสิ่งที่น่าสนใจในทางจิตวิทยาถือว่าเป็นการสร้างทัศนคติและค่านิยมเรื่องการศึกษาว่าก้าวแรกที่มั่นคงสำคัญที่สุด